logo1

สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลเลิดสิน จำกัด เริ่มรวมตัวเพื่อก่อตั้งเมื่อเดือน ตุลาคม 2516

ตามหนังสือชี้ชวนเข้าเป็นสมาชิกของ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ฯประกอบด้วย

1. น.พ.บรรลุ ศิริพานิช ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเลิดสิน

2. ท.พ.ดวงแข จักรพันธุ์ ทันตแพทย์เอกหัวหน้าแผนกทันตกรรม

3. น.พ.สุรัตน์ ธนบดี นายแพทย์เอก

4. พ.ญ.ฉัตร กุศลดิลก นายแพทย์เอก

5. พ.ญ.สุดใจ วรยิ่งยง นายแพทย์เอก

6. นางประชุม ปิยะศิลป์ เภสัชกรเอก

7. น.ส.ประทิน ปิฏฐปาตี เภสัชกร

8. นายยุคนธร สุวรรณยอด นักวิทยาศาสตร์โท

9. นายวัลลภ ภักดีสุข ประจำแผนก

10. น.ส.วิไลพรรณ มั่งศิลป์ ประจำแผนก

หนังสือชี้ชวนเป็นสมาชิก

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รรดาข้าราชการและลูกจ้างประจำนั้นมีรายได้เป็นเงินเดือนซึ่งมีจำนวนจำกัด ในบางคราวมีความจำเป็นที่ต้องใช้ง่ายเงินเกินกว่ารายได้ประจำของตนเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ เป็นต้นว่า การรักษาพยาบาล การจัดหาที่อยู่อาศัย การสมรส การศึกษา และอื่น ๆ ดังนั้น จึงจำเป็น ต้องหันเข้าหาการกู้ยืมเงินบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการหรือพนักงานชั้นผู้น้อยซึ่งไม่มีหลักประกันอย่างอื่น นอกจากตำแหน่งและเงินเดือน เนื่องจากขาดหลักประกันอันมั่นคงนี้เอง จึงหาเงินกู้ได้ยาก ถึงแม้จะกู้ได้ ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขในเรื่องดอกเบี้ยในอัตราสูง เช่น ร้อยละ 10 ถึง ร้อยละ 15 ต่อเดือน ซึ่งเป็นภาระหนัก จนเกินสมควร ส่วนใหญ่นั้นเมื่อเรื่องกู้เงินแล้วก็ยากที่จะหลุดพ้นหนี้สินได้ และยิ่งกว่านั้นหนี้สินยังทับถม พอกพูนขึ้นไปเรื่อย ๆ ฐานะทางการเงินนับวันแต่จะทรุดโทรมลงไป มีช่องทางอยู่ทางเดียวที่บุคคลเล่านี้ จะสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ ก็คือ “การออมทรัพย์” เพื่อจะได้มีเงินสำรองสำหรับรายจ่ายอันจำเป็นหรือมีประโยชน์ตามโอกาส จริงอยู่การออมทรัพย์นั้นใคร ๆ ก็อยากออม แต่ถ้าปล่อยตามลำพังก็มักไม่ใคร่สำเร็จได้น้อยก็ใช้หมด ได้มากก็ใช้มาก เป็นเงาตามตัว ดังนั้น จึงจำเป็น ต้องมีสถาบันอันถาวรเพื่ออำนวยความสะดวกและควบคุมการออมทรัพย์อย่างใกล้ชิด สถาบันนี้จะต้อง ช่วยให้ผู้ออมเงินได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในเงินออมตามสมควร ช่วยให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะคับขัน และเดือดร้อนทางการเงินผ่านพ้นวิกฤติกาลไปได้ตามโอกาสโดยปราศจากการถูกบีบคั้นของเอกชน ผู้ให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนช่วยให้หลุดพ้นหนี้สินและมีฐานะทางการเงินดีขึ้น สถาบันที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ ก็คือ “สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิต” ดังนั้น ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลือดสิน พร้อมด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลเลิดสิน จึงดำริที่จะตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตขึ้นในหมู่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลเลิดสินซึ่งจะให้ชื่อว่า “สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลเลิดสิน จำกัด” หลักและวิธีการในสารสำคัญของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น ซึ่งท่านทั้งหลายควรทราบไว้ก่อนที่จะตัดสินในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกดังนี้ คือ

1.วัตถุประสงค์

1.1 ส่งเสริมการออมทรัพย์ในหมู่สมาชิก โดยกำหนดให้ถือหุ้นในสหกรณ์เป็นรายเดือนตามอัตราซ฿งกำหนดว้ำหรับเงินได้รายเดือนของสมาชิกแต่ละคน และรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ และเงินฝากประจำจากสมาชิกด้วย

1.2 จัดให้มีเงินกู้แก่สมาชิกเพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นหรือมีประโยชน์อื่น ๆ โดยอาศัยเงิน ที่สมาชิกออมไว้ในสหกรณ์หรือกู้ยืมจากสถาบันอื่นที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์

1.3 ส่งเสริมการช่วยตัวเองและช่วยซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก

2. สมาชิกภาพ ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ที่จะตั้งขึ้นนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

2.1 เป็นผู้มีความเห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่จะตั้งขึ้นนี้

2.2 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ

2.3 ( ก ) เป็นข้าราชการประจำการสังกัด โรงพยาบาลเลิดสิน หรือ ( ข ) เป็นลูกจ้างประจำสังกัด โรงพยาบาลเลิดสิน ซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

2.4 เป็นผู้มีความประพฤติดี

2.5 มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์อื่นซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินผู้เข้าเป็นสมาชิกต้อง เสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์คนละ 10 บาท

3. การถือหุ้น

3.1 หุ้นของสหกรณ์มีมูลค่าหุ้นละ 10 บาท

3.2 ผู้เป็นสมาชิกทุกคนต้องถือหุ้นในสหกรณ์อย่างน้อยคนละหนึ่งหุ้น และต้องถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นรายเดือนทุกเดือนอย่างน้อยในอัตราซึ่งกำหนดตาม จำนวนเงินได้รายเดือนของตน ดังต่อไปนี้

เงินได้รายเดือน (บาท) การถือหุ้นรายเดือน (หุ้น)

เงินได้รายเดือน ไม่เกิน 600(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 2(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 600 ถึง 800(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 3(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 800 ถึง 1,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 4(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 1,000 ถึง 1,500(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 5(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 1,500 ถึง 2,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 6(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 2,000 ถึง 2,500(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 7(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 2,500 ถึง 3,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 8(หุ้น)

เงินได้รายเดือน เกินกว่า 3,000 ถึง 4,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 10(หุ้น)

เงินได้รายเดือนเกินกว่า 4,000 ถึง 5,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 15(หุ้น)

เงินได้รายเดือนเกินกว่า 5,000(บาท) การถือหุ้นรายเดือน 20(หุ้น)

3.3 การส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนนี้ให้ส่งโดยวิธีหักจากเงินได้รายเดือนของสมาชิก ณ ที่จ่าย

3.4 เงินค่าหุ้นนี้เป็นการอมมทรัพย์โดยวิธีการบังคับตัวเอง สหกรณ์จะอนุญาตให้ถอนคืน ได้ต่อเมื่อสมาชิกนั้นออกจากสหกรณ์

3.5 สหกรณ์จะคิดเงินปันผลตามหุ้นให้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี

4. การรับเงินฝาก สหกรณ์รับเงินฝากจากสมาชิก 2 ประเภท คือ

4.1 เงินฝากออม ทรัพย์เป็นเงินฝากคราวละเล็กละน้อยเพื่อสะสมให้เป็นก้อนใหญ่ขึ้นเช่นเดียว กับเงินฝากเผื่อเรียกในธนาคารออมสิน คือ ผู้ฝากขอเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับสหกรณ์ โดยมีเงินฝากครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 10 บาท แล้วสหกรณ์จะออกสมุดคู้บัญชีให้ผู้ฝากยึดถือไว้ ผู้ฝากจะฝากเงินเพิ่มขึ้นเมื่อใดโดยจำนวนเท่าใดก็ได้ ส่วนการถอนนั้นถอนได้เพียงวันละหนึ่งครั้ง จำนวนเงินถอนไม่จำกัด แต่อย่างน้อยต้องมีเงินคงเหลือไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 10 บาท สหกรณ์คิดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี

4.2 เงินฝากประจำ ได้แก่เงินฝากเป็นก้อน มีจำนวนอย่างน้อยครั้งละ 100 บาท ซึ่งเมื่อถอนคืนก็ถอน เป็นก้อนเต็มจำนวน และจะถอนได้เมื่อสิ้นระยะเวลาฝากตามที่ได้ตกลงไว้สำหรับระยะเวลาฝากนั้น ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในการรับเงินฝากประเภทนี้สหกรณ์จะออกใบรับเงินฝากประจำให้แก่ผู้ฝาก เพื่อยึดถือไว้ สหกรณ์คิดดอกเบี้ยเงินฝากประจำให้ในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี สำหรับเงินฝากไม่น้อยกว่า 6 เดือน และร้อยละ 8 ต่อปี สำหรับเงินฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป

5. การให้เงินกู้ สหกรณ์อาจจะให้เงินกู้แก่สมาชิกได้ 3 ประเภท คือ

5.1 เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีเหตุฉุกเฉินอันแสดงหลักฐานพิสูจน์ได้ สหกรณ์อาจให้ เงินกู้เพื่อเหตุนั้นได้ไม่เกิน 1,200 บาท หรือครึ่งหนึ่งแห่งเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น สูงแต่จำนวน ไหนน้อยกว่า ในการให้เงินกู้ประเภทนี้ไม่ต้องมีหลักประกันอื่นใด เพียงแต่สมาชิกผู้กู้ทำหนังสือกู้ให้ ไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น และเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินนี้จะต้องส่งคืนให้เสร็จภายในสองงวด

5.2 เงินกู้สามัญ ในกรณีที่สมาชิกมีความประสงค์ที่ขอกู้เงินสำหรับใช้จ่ายเพื่อการอันจำเป็นหรือมี ประโยชน์ต่าง ๆ คณะกรรมการจะดำเนินการอาจพิจารณาให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกได้ไม่เกิน 20,000 บาทหรือจำนวนเงินได้รายเดือนสี่เดือนรวมกับค่าหุ้นที่ชำระแล้วของสมาชิกนั้น หรือจำนวนเงิน ได้รายเดือนรวมแปดเดือนของสมาชิกนั้น สูงแต่จำนวนไหนน้อยกว่า กำหนดชำระคืนเป็น งวดรายเดือนไม่เกิน 48 เดือน เงินกู้ประเภทนี้ถ้ามีจำนวนเกินกว่าค่าหุ้นของสมาชิกผู้กู้จะต้องมีสมาชิก ต้ำประกันอย่างน้อยหนึ่งคนหรือมีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกัน หรือมีหลักทรัพย์ของรัฐบาล หรือเอกสารการฝากเงินในธนาคารจำนำเป็นประกัน

5.3 เงินกู้พิเศษ เมื่อสหกรณ์มีฐานะการเงินมั่นคงและก้าวหน้าพอที่จะช่วยเหลือให้เงินกู้ เพื่อส่งเสริมฐานะความมั่นคงหรือก่อประโยชน์งอกเงยแก่สมาชิกได้ โดยจำนวนเกินกว่าจำกัด ที่สมาชิกนั้นอาจกู้เงินสามัญได้ สหกรณ์อาจให้เงินกู้พิเศษแก่สมาชิกเพื่อนำไปจัดซื้อที่ดิน และหรือบ้านเรือนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของตนเองและครอบครัว หรือนำไปลงทุนประกอบอาชีพได้ โดยมีจำนวนขั้นสูงไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดชำระคืนเป็นงวดรายเดือนไม่เกิน 96 เดือน เงินกู้พิเศษนี้ ถ้ามีจำนวนเงินเกินกว่าค่าหุ้นของสมาชิกผู้กู้จะต้องมีอสังหาริมทรัพย์จำนองเป็นประกัน หรือมีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการเงินในธนาคารจำนำเป็นประกันสหกรณ์คิดดอกเบี้ย เงินกู้ทุกประเภทซึ่งให้แก่สมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี (ร้อยละ 1 ต่อเดือน)

6. การควบคุมสหกรณ์

สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของสหกรณ์ มีสิทธิควบคุมสหกรณ์ด้วยกันทุกคนตามหลักประชาธิปไตย คือ สมาชิกแต่ละคนออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ได้คนละหนึ่งเสียงเท่ากัน ไม่ว่าจะมีหุ้นมากหรือน้อย และ เมื่อไม่ได้เข้าประชุมจะมอบให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนเองไม่ได้ ที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์จะเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการมีจำนวนอย่างต่ำ 9 คน แต่อย่างสูงไม่เกิน 18 คน โดยให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรมทั้งปวงของสหกรณ์แทนบรรดา สมาชิกตามอำนาจและหน้าที่ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการอาจจัดจ้างผู้จัดการและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพื่อกระทำฑุรกิจประจำของสหกรณ์ จะทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือทางวิชาการ การวางรูปงานและรูปบัญชี ช่วยฝึกหัดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ของสหกรณ์ให้สามารถปฏิบัติงานได้ ตลอดจนช่วยตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เมื่อสิ้นปีทางบัญชี นายทะเบียนสหกรณ์จะแต่งตั้งผู้สอบบัญชีมาทำการตรวจสอบบัญชีต่าง ๆ ตลอดจน บัญชีกำไรและขาดทุน และงบดุลของสหกรณ์ จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่าสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้นนี้จะเป็นที่ไว้วางใจ ของท่านสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง

7. การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี เมื่อสิ้นปีทางบัญชี (31 ธันวาคมของทุกปี) และได้งบบัญชีโดยการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และค่าเสื่อมราคา แห่งทรัพย์สินออกแล้ว ปรากฎว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ ก็จะจัดสรรกำไรสุทธิตามที่อนุญาตไว้ในกฏหมาย ว่าด้วยเรื่องสหกรณ์และตามข้อบังคับของสกหรณ์ดังนี้

7.1 เป็นเงินสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ เงินสำรองนี้ถือเป็นเงินทุนของสหกรณ์ สมาชิก แบ่งปันกันไม่ได้

7.2 เป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ แต่ต้องไม่เกิน 5,000 บาท

7.3 เป็นเงินปันผลตามหุ้นให้แก่สมาชิกในอัตราไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี

7.4 เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกผู้กู้ตามส่วนจำนวนรวมแห่งดอกเบี้ยเงินกู้ที่สมาชิกได้เสียแก่สหกรณ์ ในระหว่างปี

7.5 เป็นโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ประจำสหกรณ์ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

7.6 เป็นทุนรักษาระดับเงินปันผลไม่เกินร้อยละ 2 ของทุนเรือนหุ้นที่สหกรณ์มีอยู่เมื่อวันสิ้นปี

7.7เป็นทุนสาธารณะ ประโยชน์ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ

บรรดาหลักการต่าง ๆ ทีได้กล่าวมาเพียงโดยสังเขป ข้างต้นนี้มีข้อความละเอียดอยู่ในร่างข้อบังคับของ สหกรณ์ที่จะตั้งขึ้นนี้ หากผู้ใดสนใจอาจขอดูร่างข้อบังคับนี้ได้จาก สหกรณ์อมมทรัพย์โรงพยาบาลเลิดสิน จำกัด ทุกวันในเวลาราชการ

ดังได้กล่าวมาแล้ว สหกรณ์ที่จะตั้งขึ้นนี้เปิดรับบรรดาข้าราชการประจำการและลูกจ้างประจำสังกัด โรงพยาบาลเลิดสิน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2 เข้าเป็นสมาชิก หากผู้ใดมีความประสงค์ จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก โปรดยื่นใบสมัครตามแบบที่กำหนดไว้ต่อ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน

สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงพยาบาลเลิดสิน จำกัด ได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 มีสมาชิกเริ่มต้นจำนวน 104 คน มีทุนเรือนหุ้น 7,470 บาท (เจ็ดพันสี่ร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ

1. ส่งเสริมการออมทรัพย์ในหมู่สมาชิกโดยกำหนดให้ถือหุ้นในสหกรณ์ฯเป็นรายเดือนตามอัตราซึ่งกำหนดไว้สำหรับเงินได้รายเดือนของสมาชิกแต่ละคน และรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ และเงินฝากประจำจากสมาชิกด้วย

2. จัดให้มีเงินกู้แก่สมาชิกเพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นหรือมีประโยชน์อื่นๆ โดยอาศัยเงินที่สมาชิกออมไว้ในสหกรณ์หรือกู้ยืมจากสถาบันอื่นที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์ฯ

3. ส่งเสริมการช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก

สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงพยาบาลเลิดสิน จำกัด ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1 วันที่ 9 สิงหาคม 2517 ณ ห้องประชุมตึกอำนวยการชั้น 3 โรงพยาบาลเลิดสิน โดยมีวาระสำคัญได้แก่การพิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดแรกจำนวน 15 คน ดังนี้

1. นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช ประธานกรรมการ

2. นายแพทย์ปุ่น ปิยะศิลป์ รองประธานกรรมการ

3. แพทย์หญิงธัชพงษ์ ศรีจันทร์ รองประธานกรรมการ

4. ทันตแพทย์หญิงดวงแข จักรพันธ์ รองประธานกรรมการ

5. นายแพทย์สุรัตน์ ธนบดี เหรัญญิก

6. นายยุคนธร สุวรรณยอด เลขานุการและผู้จัดการ

7. นางสาวประภาศรี นิลพิบูลย์ กรรมการ

8. นายวัลลภ ภักดีสุข กรรมการ

9. นางศิริยา วิบูลย์บัณฑตยกิจ กรรมการ

10. นางอำไพ วิชัยยะ กรรมการ

11. นางสาววิไลพรรณ มั่งศิลป์ กรรมการ

12. นางสาวสุดจิต พิมเสน กรรมการ

13. นางสาวอรทัย เพชรล่อเหรียญ กรรมการ

14. นางสาวประทิน ปิฏฐปาตี กรรมการ

15. นายดม ไกรยะวงษ์ กรรมการ

นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการตามข้อบังคับดังนี้

นายแพทย์มานิตย์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นผู้ตรวจสอบกิจการ